บริจาคผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก

การรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยเด็ก

    ในประเทศไทยมีศูนย์รังสีรักษาที่ให้ บริการอยู่กว่า 40 แห่ง แต่เนื่องจากข้อจำกัด ด้านทรัพยากรและบุคลากรทางด้านรังสีรักษา ที่จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเด็กจึงทำให้ศูนย์รังสีรักษาบางแห่งเท่านั้นที่สามารถรักษาผู้ป่วย โรคมะเร็งเด็กกลุ่มนี้ได้ โดยจะต้องมีขั้นตอน การรักษาและการพยาบาลที่ละเอียดอ่อน ในช่วง ที่ผ่านมาจึงมีการส่งตัวผู้ป่วยโรคมะเร็งเด็ก ส่วนหนึ่งมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากเป็นสถาบันที่มีความพร้อมทั้งด้าน เครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ศัลยแพทย์ แพทย์มะเร็งกุมารเวช แพทย์รังสีวิทยา วิสัญญีแพทย์เด็ก ตลอดจนพยาบาลและผู้เกี่ยวข้อง กับการดูแลผู้ป่วยเด็กจำนวนมาก

     หนึ่งในตำแหน่งที่เกิดมะเร็งในผู้ป่วย เด็กที่มีความละเอียดอ่อนคือ มะเร็งสมอง ซึ่งพบ เป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดย การรักษาด้วยการฉายรังสีนับเป็นแนวทางที่ให้ผล การรักษาดี มีอัตราการรอดชีวิตสูง ผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้ จะได้รับการฉายรังสีที่บริเวณสมอง หรืออาจจะ ต้องฉายบริเวณไขสันหลังร่วมด้วย ซึ่งมีผลข้างเคียง ต่ออวัยวะภายในต่างๆ ได้แก่ หูชั้นกลาง ต่อมใต้ สมอง ตา ปอด หัวใจ ตับ ลำไส้ ซึ่งการใช้อนุภาค โปรตอนจะทำให้สามารถลดความเสี่ยงภาวะ แทรกซ้อนทั้งการได้ยิน ระดับฮอร์โมน พัฒนาการ และระดับสติปัญญา ผลกระทบต่ออวัยวะใกล้เคียง ตลอดจนลดโอกาสเกิดมะเร็งชนิดอื่นเมื่อโตขึ้น การลดผลข้างเคียงนี้ช่วยลดผลกระทบต่อการดำรง ชีวิตของทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครอง

 

ในปี พ.ศ. 2559 – 2563 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเด็กที่ฉายรังสีใน ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และกว่าร้อยละ 20 เป็นผู้ป่วยเด็กที่มาเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการ ฉายรังสีที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ยังมี จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองในเด็กที่มาเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในเด็กทั้งหมด ของประเทศ

 

 

โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ความหวังของผู้ป่วย โรคมะเร็งสมองเด็กกับการรักษาด้วยอนุภาคโปรตอน

รศ.พญ.กาญจนา โชติเลอศักดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยรังสีรักษาและ มะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา เล่าประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเด็กที่เข้ารับ การรักษาด้วยวิธีการเดิมว่า หลังการรักษาแพทย์จะต้องติดตามอาการของผู้ป่วยเด็กอย่าง ต่อเนื่อง พบว่าผู้ป่วยเด็กมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านต่างๆ รวมถึงผลกระทบด้านการ เรียนรู้ที่ลดลง การช่วยเหลือตัวเองที่น้อยลง อันเป็นผลข้างเคียงจากการใช้รังสีในการรักษา ด้วยการฉายรังสีเอกซ์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันทั่วประเทศไทย เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ขึ้น จึงเป็นความหวัง ครั้งใหม่ที่แพทย์และบุคลากรผู้ทำงานทุกคนเห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเด็กมีสุขภาพ หลังการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีการศึกษาจากหลายหน่วยงานระบุว่า การใช้อนุภาค โปรตอนในเด็กมีแนวโน้มที่ดี รวมทั้งพบว่าระดับการเรียนรู้ การได้ยิน และภาวะพร่อง ฮอร์โมนดีกว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยรังสีปกติ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญ ของรักษาผู้ป่วยเด็กด้วยอนุภาคโปรตอนคือ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงราว 1.3 ล้านบาท ต่อราย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ จึงได้จัดทำ “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้การรักษาโรคมะเร็งสมองในผู้ป่วยเด็กด้วย อนุภาคโปรตอน” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ป่วย เด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอีกด้วย

เปรียบเทียบปริมาณรังสีด้วย (ก) รังสีเอกซ์ และ (ข) อนุภาคโปรตอนในการรักษามะเร็งสมอง จะเห็นได้ว่าปริมาณรังสีบริเวณลำตัวของเด็กลดลงอย่างมาก

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการให้

ผู้ที่สนใจและผู้มีจิตศรัทธา สามารถบริจาคผ่านทางระบบ E-Donation โดยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร รวมถึงการบริจาคเข้าบัญชี โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ.จุฬา สะพานบุญ) ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เลขที่ 059-1-93894-0 ทั้งนี้ใบเสร็จ จากการบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 2 เท่าอีกด้วย

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกันสร้าง โอกาสแห่งการเติบโตอย่างมีคุณภาพให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองในเด็ก และให้อนาคตแก่เยาวชนที่จะเป็นความหวังของประเทศชาติต่อไป

ร่วมบริจาค

แนบไฟล์ file (jpg, png, pdf) ขนาดไม่เกิน 2 MB
Drop files here or
Accepted file types: jpg, png, pdf, jpeg, Max. file size: 2 MB.
    This field is for validation purposes and should be left unchanged.