มะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก

โครงการวิจัยของเรา: มะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก

สถานะโครงการ: กำลังเปิดรับผู้ป่วยเข้าร่วมวิจัย

เผยแพร่ครั้งแรก: 30 มกราคม 2566

อัพเดตล่าสุด: 30 มกราคม 2566

 

ชื่อโครงการ

การเปรียบเทียบการฉายรังสีบริเวณที่มีการแพร่กระจายไปกระดูกจากโรคมะเร็งโดยเทียบการฉายรังสี 1ครั้งของเทคนิครังสีศัลยกรรมโดยใช้อนุภาคโปรตอนกับการฉายเทคนิครังสีศัลยกรรมโดยใช้รังสีโฟตอน 3ครั้ง

วัตถุประสงค์

เนื่องจากอนุภาคโปรตอนมีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณรังสีไปยังอวัยวะข้างเคียงของการฉายรังสีแต่ละครั้งได้ และยังมีการศึกษาโดยใช้อนุภาคโปรตอนในกระดูกที่มีการแพร่กระจายจากมะเร็งไปค่อนข้างน้อย การศึกษานี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้อนุภาคโปรตอนในการรักษาภาวะนี้ รวมไปถึงมีการเปรียบเทียบกับการฉายรังสีด้วยวิธีรังสีศัลยกรรมโดยใช้รังสีโฟตอน ซึ่งเป็นการรักษาแบบมาตรฐานหลัก โดยเปรียบเทียบในเรื่องของการลดความเจ็บปวดหลังการรักษาด้วยการฉายรังสี 

เกณฑ์คัดเข้า

ผู้ป่วยที่สามารถเข้าร่วมการศึกษานี้ได้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยมีผลพยาธิวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็ง
  • มีอายุมากกว่า 18ปี
  • มีผลเอกซเรย์ที่มีการรายงานผลว่ามีการแพร่กระจายไปกระดูก (เอกซเรย์ทั่วไป
    (plain x-ray), แสกนกระดูก (bone scan), เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan), หรือ เพ็ทซีที (PET/CT)
  • คาดว่าผู้ป่วยจะมีอายุคาดเฉลี่ยมากกว่า 3 เดือน
  • ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายไม่เกิน 3 ตำแหน่ง หรือมีการแพร่กระจายไปที่กระดูกเพียงอย่างเดียว
  • ผู้ป่วยสามารถทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความเจ็บปวดและคุณภาพชีวิตได้
  • ตำแหน่งการฉายรังสีมีไม่เกิน 3 ตำแหน่ง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมา สามารถเข้าร่วมการวิจัยได้
  • ลักษณะของก้อน สามารถทำการฉายรังสีแบบรังสีศัลยกรรมได้
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายรังสีแบบวิธีปกติมาก่อนมากกว่า 90วัน สามารถเข้าร่วมการวิจัยและฉายซ้ำได้
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย มีภาวะกดทับไขสันหลัง และได้รับการผ่าตัดแล้ว

 

Phase : II/III

ชนิดของมะเร็ง : โรคมะเร็ง ระยะที่มีการแพร่กระจายไปกระดูก

ระยะของโรค : ระยะที่มีการแพร่กระจายไปกระดูก

ผู้วิจัยหลัก : ผศ.พญ.กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย

ผู้วิจัยร่วม

  • .พญ.ณปภัช อมรวิเชษฎ์
  • รศ.พญ.กาญจนา โชติเลอศักดิ์

สถานที่ดำเนินงานวิจัย : รพ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย