เนื้องอกสมองในผู้ป่วยเด็ก

เนื้องอกสมองในผู้ป่วยเด็ก

ชื่อโครงการผลข้างเคียงและอัตราการรอดชีวิตในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งสมองด้วยการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง

สถานะโครงการกำลังเปิดรับผู้ป่วยเข้าร่วมวิจัย

เผยแพร่ครั้งแรก14 กุมภาพันธ์ 2566

อัพเดตล่าสุด14 กุมภาพันธ์ 2566

ชนิดมะเร็งเนื้องอกสมองในผู้ป่วยเด็ก

วัตถุประสงค์:  

วัตถุประสงค์หลัก

  • เพื่อประเมินอัตราการเกิดและความรุนแรงของภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำในผู้ป่วยมะเร็งสมองเด็กที่ได้รับการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง

วัตถุประสงค์รอง

  • เพื่อประเมินอัตราการเกิดผลข้างเคียงเฉียบพลันทางระบบโลหิตวิทยาชนิดอื่นๆในผู้ป่วยมะเร็งสมองเด็กที่ได้รับการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง
  • เพื่อประเมินอัตราการเกิดผลข้างเคียงเฉียบพลันอื่นๆนอกเหนือระบบโลหิตวิทยาและผลข้างเคียงระยะยาวในผู้ป่วยมะเร็งสมองเด็กที่ได้รับการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง
  • เพื่อประเมินอัตราการควบคุมโรคเฉพาะตำแหน่ง และอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งสมองเด็กแต่ละชนิดที่ได้รับการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง
  • ประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งสมองเด็กที่ได้รับการฉายรังสีโปรตอนสมองและไขสันหลัง

จำนวนผู้ป่วย:   60 ราย

เกณฑ์คัดเข้า:  

  • ผู้ป่วยเด็กไทยอายุ 1-15 ปี
  • ได้รับการวินิจฉัยโรคเนื้องอกสมองดังนี้
    Embryonal tumor (Medulloblastoma, PNET, ATRT, Pineoblastoma), Ependymoma ระยะแพร่กระจาย, Pure germ cell tumor ระยะแพร่กระจาย, Non-germinomatous germ cell tumor
  • มีสภาพร่างกายที่แข็งแรง

เกณฑ์คัดออก

  • ไม่ได้รับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้ออกทั้งหมด (หรือเกือบหมด) สำหรับ Embryonal tumor และ Ependymoma
  • ไม่มีภาพเอ็มอาร์ไขสันหลัง
  • ไม่มีผลตรวจเซลล์น้ำไขสันหลัง
  • ไม่สามารถตรวจติดตามต่อเนื่องที่โรคงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ระยะโครงการ2

ชนิดของมะเร็งมะเร็งสมองในเด็ก

ผู้วิจัยหลักผศ.(พิเศษ) พญ. ชนม์นิภา นันทวิทยา

ผู้วิจัยร่วม

  • รศ.พญ.กาญจนา โชติเลอศักดิ์
  • ดร.พญ.อนุสสรา ประยงค์รัตน์
  • ผศ.(พิเศษ) พญ.กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย
  • พญ.ฐิติพร จารุเธียร
  • ผศ.นพ. ปิติ เตชะวิจิตร์

สถานที่ดำเนินงานวิจัย:   โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย