มะเร็งหลอดอาหาร

Our clinical trial: Esophageal cancer

Update on 10 February 2022

การศึกษาวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ระหว่างการฉายรังสีเอกซ์แบบปรับความเข้ม เปรียบเทียบกับการฉายอนุภาคโปรตอนแบบปรับความเข้มในโรคมะเร็งหลอดอาหาร ในสหสถาบัน (Multi-institutional study: Phase II/III randomized controlled trial between intensity-modulated radiotherapy (IMRT) vs intensity-modulated proton therapy (IMPT) for esophageal cancer) โดยความร่วมมือจากหลายสถาบันทั่วประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลวชิระ สถาบันมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี และโรงพยาบาลมะเร็งจันทบุรี  

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้คือการเปรียบเทียบการฉายรังสีสองชนิดในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสะแควมัส (esophageal squamous cell carcinoma) ระหว่างการฉายรังสีเอกซ์แบบปรับความเข้ม (intensity-modulated radiation therapy, IMRT) กับการฉายอนุภาคโปรตอนแบบปรับความเข้ม (intensity-modulated proton therapy, IMPT) โดยในการฉายอนุภาคโปรตอนจะใช้ปริมาณรังสีสูงกว่าเพื่อเพิ่มการควบคุมโรค ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจะได้รับการสุ่มและเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการรักษาทั้งสองแบบ 

เกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ 

  • ได้รับการวินิจฉัยจากผลชิ้นเนื้อว่าเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสะแควมัส (squamous cell carcinoma)  
  • อายุระหว่าง 20-70 ปี 
  • น้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 45 กิโลกรัม 
  • สภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง 
  • การทำงานของอวัยวะต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ 

เกณฑ์การคัดออก ได้แก่ 

  • มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ปอด ตับ กระดูก  
  • รอยโรคลุกลามทะลุหลอดลม  
  • เป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง  
  • มีประวัติการฉายรังสีบริเวณหน้าอกหรือหน้าท้องบริเวณใกล้เคียงกับที่จะฉายรังสีครั้งนี้ 
  • มีโรคร่วมที่ยังไม่สงบ 
  • ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร 

หากท่านสนใจเข้าร่วมงานวิจัย สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ หรือติดต่อมายังศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โดยตรง 

แหล่งอ้างอิง 

Oonsiri S, Kitpanit S, Kannarunimit D, Chakkabat C, Lertbutsayanukul C, Prayongrat A. Comparison of intensity modulated proton therapy beam configurations for treating thoracic esophageal cancer. Phys Imaging Radiat Oncol. 2022 Apr 28;22:51-56. 

Lertbutsayanukul C, Kitpanit S, Kannarunimit D, Chakkabat C, Oonsiri S, Thephamongkhol K, Puataweepong P, Katanyoo K, Sukhaboon J, Tovanabut C, Chongsathientham S, Treeratsapanich P, Soonthornrak J, Prayongrat A. High-dose Intensity-modulated proton therapy versus Standard-dose Intensity-modulated RadIation therapy for esophageal squamous cell carcinoma (HI-SIRI): study protocol for a randomized controlled clinical trial. Trials. 2022 Oct 22;23(1):897 

แหล่งอ้างอิง 

Oonsiri S, Kitpanit S, Kannarunimit D, Chakkabat C, Lertbutsayanukul C, Prayongrat A. Comparison of intensity modulated proton therapy beam configurations for treating thoracic esophageal cancer. Phys Imaging Radiat Oncol. 2022 Apr 28;22:51-56. 

Lertbutsayanukul C, Kitpanit S, Kannarunimit D, Chakkabat C, Oonsiri S, Thephamongkhol K, Puataweepong P, Katanyoo K, Sukhaboon J, Tovanabut C, Chongsathientham S, Treeratsapanich P, Soonthornrak J, Prayongrat A. High-dose Intensity-modulated proton therapy versus Standard-dose Intensity-modulated RadIation therapy for esophageal squamous cell carcinoma (HI-SIRI): study protocol for a randomized controlled clinical trial. Trials. 2022 Oct 22;23(1):897