มะเร็งตับ

โครงการวิจัยของเรา: Hepatocellular Carcinoma

เผยแพร่ครั้งแรก: 30 มกราคม 2566

อัพเดตล่าสุด: 30 มกราคม 2566

 

ชื่อโครงการ

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ระหว่างการฉายรังสีร่วมพิกัดด้วยรังสีเอ็กซ์ เปรียบเทียบกับการฉายรังสีร่วมพิกัดด้วยรังสีโปรตอนในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

วัตถุประสงค์

การรักษาเฉพาะที่สำหรับโรคมะเร็งตับมีหลายวิธีทั้งการผ่าตัด การจี้ การฉายรังสี โดยการผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ การฉายรังสีมีบทบาทน้อยในอดีต เนื่องจากเนื้อตับปกติทนรังสีได้จำกัด แต่ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีที่ดีมากขึ้น ทำให้บทบาทการฉายรังสีสำหรับโรคมะเร็งตับมีมากขึ้นในปัจจุบัน

         แม้ว่าการฉายรังสีโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่จะใช้รังสีโฟตอน แต่อย่างไรก็ตามรังสีโฟตอนมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่เป็นข้อจำกัด คือ มีปริมาณรังสีไปยังเนื้อเยื่อปกติทั้งบริเวณหน้าและหลังต่อก้อนมะเร็ง ทำให้มีปริมาณรังสีที่ไม่ต้องการไปยังอวัยวะข้างเคียง ในขณะที่โปรตอนมีคุณสมบัติเด่นทางฟิสิกส์ คือ ไม่มีรังสีหลังจากที่มีการปลดปล่อยพลังงานที่จุดใดจุดหนึ่ง ทำให้สามารถลดปริมาณรังสีไปยังอวัยวะข้างเคียงได้

         การศึกษาแบบย้อนหลังพบว่าการฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตอนช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตรวมสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาทั้งสองวิธี ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจากการรักษาเปรียบเทียบระหว่างการฉายรังสีด้วยโฟตอนกับอนุภาคโปรตอน

เกณฑ์คัดเข้า

ผู้ป่วยที่สามารถเข้าร่วมการศึกษานี้ได้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ hepatocellular carcinoma
  • มีก้อนมะเร็งที่ตรวจพบหรือมีการลุกลามเข้าเส้นเลือดจากการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือภาพสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • อายุมากกว่า 18 ปี
  • สภาพร่างกายดีพอสมควร (ECOG 0-2)
  • ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี
  • มะเร็งตับระยะ BCLC B ถึง C
  •  ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ปลูกผ่ายตับ TACE, DES
  • ประสิทธิภาพการทำงานของตับประเมินตาม Child-Pugh น้อยกว่า 9

ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีการแพร่กระจายของโรคไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือตำแหน่งอื่นของร่างกาย
  • มีประวัติเป็นมะเร็งชนิดอื่นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
  • ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • เคยได้รับการฉายรังสีที่ตับมาก่อน
  • เคยได้รับการรักษาด้วย Y-90 SIRT มาก่อน
  • มีก้อนมะเร็งก้อนใดก้อนหนึ่งที่มีขนาดมากกว่า 15 ซม.
  • มีขนาดก้อนมะเร็งรวมกันมากกว่า 20 ซม.
  • มีก้อนมะเร็งมากกว่า 3 ตำแหน่งในตับ
  • เนื้อตับปกติมาขนาดน้อยกว่า 700 ซีซี
  • มีโรคประจำตัวอื่นที่รุนแรงร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจวาย เส้นเลือดตีบ เจ็บหน้าอก

Phase : III

ชนิดของมะเร็ง : โรคมะเร็ง ระยะที่มีการแพร่กระจายไปกระดูก

ระยะของโรค : ระยะลุกลามเฉพาะที่

ผู้วิจัยหลัก : ผศ.นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐ

ผู้วิจัยร่วม

  • อ.พญ.ณปภัช อมรวิเชษฎ์
  • อ.นพ.เพชร อลิสานันท์
  • อ.พญ. กนกพร ทองเลิศ

 สถานที่ดำเนินงานวิจัย : รพ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย