ข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่า
เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- สถานทูตไทยในต่างประเทศ (Royal Thai Embassy) https://www.thaiembassy.org/
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Immigration Bureau) https://www.immigration.go.th/en/?page_id=277
- กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (Department of Consular Affairs) https://consular.mfa.go.th/th/page/-visa
- THAI E-VISA OFFICIAL WEBSITE (MINISTRY OF FOREIGN AFFAIRS) https://thaievisa.go.th/
- Visa on Arrival Online https://extranet.immigration.go.th/voaonline/voaonline/VoaonlineAction.do?language=EN#
วีซ่าเพื่อการรักษาพยาบาล
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้
- หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
- ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
- ใบรับรองการฉีดวัคซีนหรือผลการทดสอบ RT-PCR / Pro-ATK
- ใบรับรองการประกันภัยการเดินทางที่พิมพ์ออกมา
- สำเนาการจองโรงแรมที่ยืนยันแล้ว
- สำเนายืนยันการจองเที่ยวบิน
อายุวีซ่า
- 3 เดือน (Single Entries)
- 12 เดือน (Multiple Entries)
ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร
- 90 วัน ต่อครั้ง
เอกสารประกอบการพิจารณา
-
- หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
- รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
- หนังสือตอบรับจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย
การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือการพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย
ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือ การพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย
1. ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย ,
ระยะเวลาในการรักษา และความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
2. กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรอง และร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูต
หรือ สถานกงสุล
3. ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสแล้ว ให้อนุญาตได้อีกไม่เกิน 1 คน
ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
1. ผู้รับการรักษาพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา และออกโดยกระทรวงสาธารณสุข
2. ผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นตามเอกสารแสดงรายชื่อที่ผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายชื่อรับรองเอกสาร จำนวนไม่เกิน 4 คน
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย
1. แบบคําขอ ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4X6 ซม. จํานวน 1 รูป (Link ดาวน์โหลดเอกสาร)
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ – หนังสือเดินทางหน้าแรก ที่แสดงของมูลประจําตัวชาวต่างชาติ – หน้าแสดงวีซ่าปัจจุบันของผู้ป่วย– หน้าที่มีตราประทับขาเข้าประเทศไทยครั้งล่าสุด – Departure Card (TM.6)
3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา – หนังสือรับรองและขออยู่ต่อจากแพทย์ประจําโรงพยาบาล พร้อมชี ้แจงว่าผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง – ภาพถ่ายเพื่อยืนยันการพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาล องค์ประกอบในภาพถ่ายผ้ป่วย ต้องประกอบด้วย
-
- ผู้ป่วย
- หนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งแสดงวันที่ ณ ปัจจุบัน
- บุคลากรทางการแพทย์ในชุดเครื่องแบบของโรงพยาบาล (สามารถใส่หน้ากากอนามัย หรือปกปิดภาพใบหน้าและชื่อของบุคลากรได้)
- ตราสัญลักษณ์ของโรงพยาบาล เช่น ตราสัญลักษณ์บนชุดผู้ป่วย ผ้าห่ม ปลอกหมอน ผ้าปูเตียง ฯลฯ หรือ ตราสัญลักษณ์บนชุดเครื่องแบบของบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในภาพ เพื่อแสดงว่า ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาลแห่งนันจริง
– สําเนา TM.30 แสดงการเข้าพักของผู้ป่วย ณ โรงพยาบาล
4. เฉพาะกรณีญาติ ที่ต้องขอต่ออายุวีซ่าเพื่ออยู่ดูแลผู้ป่วยระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาล ให้แนบหนังสือรับรองเพื่อขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา ให้เเนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ดังนี้ (กรณีผู้ดูแลซึ่งเป็นส่วนแห่ง ครัวเรือน) เช่น หลักฐานการสมรส สำเนา สูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยได้รับการรับรองจากสถานทูต หรือสถาน กงสุลประจําประเทศไทย
5. ค่าธรรมเนียมในการต่ออายุวีซ่า ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 1,900 บาท
ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
1. แบบคำขอ ตม.7
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– หนังสือเดินทางหน้าแรก ที่แสดงของมูลประจําตัวชาวต่างชาติ
– หน้าแสดงวีซ่าปัจจุบันของผู้ป่วย
– หน้าที่มีตราประทับขาเข้าประเทศไทยครั้งล่าสุด – Departure Card (TM.6)
3. หนังสือรับรองจากสถานพยาบาลในประเทศไทย ตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษาหรือจากกระทรวงสาธารณสุข
– หนังสือรับรองและขออยู่ต่อจากแพทย์ประจําโรงพยาบาล พร้อมชี้แจงว่าผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง
– ภาพถ่ายเพื่อยืนยันการพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาล
– สําเนา TM.30 แสดงการเข้าพักของผู้ป่วย ณ โรงพยาบาล
4. ผู้รับการรักษาพยาบาล แนบเอกสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ออกโดยสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่
– เอกสารการนัดหมายเข้ารับการรักษาพยาบาล
– เอกสารการรับรองการรักษาพยาบาลของแพทย์
-เอกสารยืนยันการเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเอกสารทางการแพทย์ประเภทอื่น
5. ผู้ดูแลผู้ป่วย
5.1 กรณีที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรม ให้แนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร สำเนาใบรับรองบุตร หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์จากผู้รับการรักษาพยาบาล
5.2 กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สำหรับบุคคลอื่นนอกเหนือจากบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมให้แนบสัญญาจ้าง หรือหนังสือรับรองจากผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยทั้งสองกรณีต้องแนบเอกสารแสดงรายชื่อผู้ดูแลแลผู้ป่วย ซึ่งผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวข้างต้น ต้องรับรองโดยสถานทูตหรือหน่วยงานราชการของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC : Gulf Cooperation Council) (ตามแบบฟอร์มเอกสารหนังสือรับรองความเป็นญาติและผู้ติดตามของผู้รับบริการรักษาพยาบาล – Affidavit of Support) โดยแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
แนวทางการออกใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้ประกอบการขอต่อวีซ่าของผู้ป่วยต่างชาติ
– การข้ออยู่ต่อกรณีผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางได้ และรักษาตัวในโรงพยาบาล เฉพาะการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่การรักษา
โดยแพทย์ทางเลือก
– ใบรับรองแพทย์ หรือ ใบสําคัญความเห็นแพทย์ ให้ใช้เอกสารต้นฉบับที่มีตราประทับของโรงพยาบาลเท่านั้น
– ใบรับรองแพทย์ต้องเขียนให้ชัดเจน สามารถอ่านได้ ถ้าไม่สามารถอ่านได้ ตม.มีสิทธิปฏิเสธในการพิจารณาต่อวีซ่าให้ผู้ป่วย
– ใบรับรองแพทย์สามารถเขียนเป็นภาษาไทยได้โดยระบุข้อมูลให้ครบถ้วนดังต่อไปนี้
ใบรับรองแพทย์ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ระบุข้อมูล ชื่อ ชื่อกลาง (ถ้ามี) และนามสกุล และเลขที่หนังสือเดินทาง เป็นภาษาอังกฤษ ตามที่ปรากฏในหนังสือเดินทางให้ถูกต้อง
- การวินิจฉัยโรคของแพทย์ (ระบุชื่อโรคภาษาไทยกํากับ อาการสําคัญ) กรณีตั้งครรภ์ กรุณาระบุอายุครรภ์ (สัปดาห์) และอาการผิดปกติ (ถ้ามี)
- รายละเอียดการรักษา เช่น ระบุวันที่ เช่น ผ่าตัด เก็บไข่ ย้ายตัวอ่อน และช่วงเวลารักษา (Date Start to Finish) ให้ยาเคมีบําบัดรังสีรักษา
- โรคที่ทําการรักษาอยู่ เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางหรือไม่ (โปรดระบุว่า เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร)
- ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษา (โดยประมาณ) จนกระทั่งสามารถเดินทางได้
- ชื่อและเลขที่ของใบประกอบวิชาชีพ ของแพทย์ผู้ตรวจรักษา หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
- วันที่ออกใบรับรองแพทย์
- ตราประทับของโรงพยาบาล
หมายเหตุ กรณีต้องต่ออายุวีซ่าให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นคนต่างชาติด้วยนั้น ต้องระบุ ชื่อ ชื่อกลาง(ถ้ามี) นามสกุล สัญชาติ และเลขที่หนังสือเดินทางของผู้ดูแลผู้ป่วยดังกล่าว ลงในใบรับรองแพทย์ฉบับเดียวกันนี้ด้วย มิเช่นนั้น ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจะไม่สามารถต่อวีซ่าตามผู้ป่วยได้
Reference : Immigration Bureau of Thailand, “Visa Extension – In the case of receiving medical treatment, attending rehabilitation, or taking care of a patient”, https://www.immigration.go.th/en/?p=14714 , https://www.immigration.go.th/content/service_25/ ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2566